ปก_สำนักบริการวิชาการ_2567

อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน

อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน

สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานที่จัดหารายได้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการวิชาการแก่สังคม และเป็นศูนย์ประสานงานการให้บริการทางวิชาการในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ให้คำปรึกษาทางวิชาการ เทคนิค และวิชาชีพ
2. จัดการฝึกอบรม สัมมนา อภิปราย บรรยาย หรือเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่มีโครงการ หรือหลักสูตร และช่วงเวลาที่แน่นอน
3. เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในการรักษาผลประโยชน์อันเกี่ยวสิทธิประโยชน์ในทรัพย์สิน ทางปัญญา
4. การค้นคว้า สำรวจ ออกแบบ วางผัง วางแผน วิเคราะห์ วิจัย สิ่งประดิษฐ์ ปัญญาประดิษฐ์ ทดสอบ ตรวจสอบ เขียน และแปล
5. พัฒนาและส่งเสริมการบริหารจัดการและการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ หรือผลิตผล ทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย

ภารกิจและนโยบายการบริหารงานสำนักบริการวิชาการ

เพื่อให้การบริหารจัดการสํานักบริการวิชาการ มีประสิทธิภาพสูงสุด สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และ กลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย จึงกําหนดนโยบายการบริหารงานประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขึ้น เพื่อให้การ ดําเนินงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์ ตอบสนองพันธกิจ และบรรลุวัตถุประสงค์ ของสํานักบริการวิชาการ ดังนี้

1. ด้านบริหารจัดการ
(1.1) พัฒนาระบบติดตามขั้นตอนการทํางานให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
(1.2) จัดทําแผนและกิจกรรมการปฏิบัติราชการประจําปีตามแผนกลยุทธ์และตัวชี้วัดกพร
(1.3) สนับสนุนกระจายอํานาจ ความรับผิดชอบ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดําเนินงานในฝ่ายต่างๆ
(1.4) สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆของบุคลากร เช่น ศักยภาพด้านภาษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการตลาดโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นต้น
(1.5) บริหารจัดการงบประมาณตามแผน โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ
(1.6) จัดทํา พัฒนา Flowchart และคู่มือการปฏิบัติงานครบทุกด้าน
(1.7) บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกพันธกิจ
(1.8) นําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการสํานักงาน เพื่อลดการใช้กระดาษส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(1.9) สร้างบรรยากาศภายในสํานักงานที่ดีให้สนับสนุนการทํางานของบุคลากรทุกฝ่าย เป็นไปตามหลักการ 5 ส.
(1.10) สร้างการทํางานที่มีระเบียบวินัย ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร
(1.11) เพิ่มศักยภาพในการหารายได้ เพื่อส่งเสริมกิจการของมหาวิทยาลัย

2. ด้านบัญชี การเงินและพัสดุ
(2.1) ดําเนินการทางด้านการเงิน บัญชี และพัสดุ อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(2.2) กํากับการดําเนินการด้านการพัสดุให้เป็นไปตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(2.3) พัฒนาแบบ Check List เอกสารการประกอบการเบิกจ่ายโครงการให้ครบถ้วน เป็นมาตรฐาน
(2.4) ดําเนินการเบิกจ่ายเงินโครงการให้รวดเร็ว เป็นปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด
(2.5) พัฒนา ต่อยอดระบบใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การออกใบเสร็จเป็นไปอย่างรวดเร็วรัดกุม มีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

3. ด้านการวิจัยและพัฒนา
(3.1) การวิจัยอยู่ภายใต้ความมีจริยธรรม จรรยาบรรณ และหลักวิชาการที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
(3.2) ทําโครงการวิจัยและพัฒนา ในการบริการวิชาการร่วมกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย

4. ด้านการจัดการฝึกอบรม
(4.1) นําการวิจัยตลาดผู้ฝึกอบรม นําไปสู่การจัดหลักสูตรให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด
(4.2) ขยายตลาดผู้เข้ารับการบริการวิชาการสู่องค์กรอื่นๆที่หลากหลายมากขึ้น
(4.3) จัดทําหลักสูตรร่วมกับฝ่ายการตลาดให้ตรงกับความต้องการของผู้ที่จะเข้าอบรม
(4.4) จัดทําหลักสูตรร่วมกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ
(4.5) สร้างมาตรฐานโครงการอบรม และการบริการที่ดี และกํากับติดตามให้เป็นไปตามมาตรฐาน
(4.6) พัฒนาการสํารวจความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือและนํามาพิจารณาเพื่อพัฒนาคุณภาพโครงการฝึกอบรมต่อไป
(4.7) พัฒนาศักยภาพของพนักงานฝึกอบรมให้สูงขึ้น เช่น ศักยภาพด้านการเป็นพิธีกร เป็นต้น
(4.8) นําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการฝึกอบรม
(4.9) พัฒนา และส่งเสริมการตลาดเชิงรุก เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้มากขึ้น
(4.10) ลดต้นทุนที่ไม่จําเป็นในการจัดการอบรม เพื่อเพิ่มสัดส่วนกําไรให้มากขึ้น
(4.11) ส่งเสริมให้คณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรในโครงการฝึกอบรมของสํานักฯ

5. ด้านการจัดจําหน่าย ผลิตภัณฑ์ หรือผลิตผลทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย
(5.1) พัฒนาและส่งเสริมการบริหารจัดการ และการจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ หรือผลิตผลที่เกิดจากการวิจัยของมหาวิทยาลัย
(5.2) ทําการตลาดเชิงรุก ในทุกช่องทางของการจัดจําหน่าย
(5.3) เผยแพร่ชื่อเสียง งานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากการวิจัยของมหาวิทยาลัย

Last Updated on 30-07-2024 by Tanakrit Lawan