กล้องสำรวจ (Surveying Instrument)
คืออุปกรณ์ทางวิศวกรรมที่ใช้ในงานสำรวจพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการวัดและบันทึกตำแหน่ง ระยะทาง มุม ความสูง และลักษณะต่าง ๆ ของพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้การวางแผนและออกแบบงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น อาคาร สะพาน ถนน ระบบการระบายน้ำ หรืออื่น ๆ มีความแม่นยำ เกิดประสิทธิภาพต่อการวางแผนงานก่อสร้างมากขึ้น
ประเภทของกล้องสำรวจ
- กล้องระดับ (Automatic Level)
ใช้สำหรับวัดระดับความสูงระหว่างจุดต่าง ๆ สามารถใช้ในงานก่อสร้าง ถนน อาคาร หรือสำหรับการปรับพื้นดินในการภาคการเกษตร การวัดระดับสำหรับลงงานวางท่อระบายน้ำ หรือก่อสร้างคูคลอง เป็นต้น
- กล้องวัดมุม (Theodolite)
ใช้ในงานวางผังและการวางหมุด ทั้งงานก่อสร้างถนน ทางรถไฟ สะพาน ติดตั้งเสาไฟฟ้า สามารถใช้วัดมุมทั้งแนวตั้งและแนวนอน แบ่งเป็น 2 ประเภท 1) กล้องวัดมุมแบบแมคคานิกส์ (Mechanical Theodolite) เป็นกล้องที่อ่านค่าจากการหมุนจานองศา โดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า 2) กล้องวัดมุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Theodolite) เป็นกล้องที่แสดงค่าผ่านจอดิจิตอลมีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
กล้องวัดมุมแบบแมคคานิกส์
กล้องวัดมุมแบบอิเล็กทรอนิกส์
- กล้องวัดระยะด้วยแสง (Electronic Distance Measurement, MDE)
อาศัยหลักการใช้แสงเลเซอร์ช่วยในการวัดระยะทางโดยไม่ต้องใช้เป้าปริซึมได้ไกล 10 – 500 เมตร สามารถวัดระยะทางลาด วัดมุมดิ่ง มีความแม่นยำสูงมากและสามารถวัดระยะทางได้ในระยะไกล
- กล้องประมวลผลรวม (Total Station)
ใช้สำหรับการวัดค่ามุมและค่าระยะ มีโปรแกรมในการคำนวณหาค่าต่าง ๆ เบ็ดเสร็จในกล้องตัวเดียว ส่วนประกอบของตัวกล้อง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เครื่องวัดระยะ และกล้องวัดมุม โดยใช้แกนกล้องโทรทัศน์ร่วมกัน การใช้กล้องสำหรับงานสำรวจมีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบในเรื่องของเนื้อที่ ขอบเขต รูปร่าง ทิศทาง ตำแหน่ง ค่าระดับ และปริมาตร เป็นต้น ใช้สำหรับงานรังวัดที่ดิน งานวางผัง งานสำรวจตำแหน่งจุดตอกเสาเข็ม งานสำรวจภูมิศาสตร์ งานสำรวนเส้นทาง สำรวจธรณี งานรังวัดเหมือง งานชลประทาน เป็นต้น
การนำกล้อง Total Station มาเป็นเครื่องมือในงานสำรวจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำของการวัดมุมทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ช่วยประหยัดเวลาลดความซับซ้อนในการใช้เครื่องมืออื่น ๆ ร่วม ลดข้อผิดพลาดจาก Human error จากการมีระบบจดจำเป้าหมายอัตโนมัติลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดจากการวัดแบบ manual โดยมนุษย์ ดังนั้นการใช้งานกล้อง Total Station เป็นการลงทุนที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในงานสำคัญที่ต้องการความแม่นยำสูง
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้ในการใช้งานอุปกรณ์งานสำรวจด้วยกล้อง Total Station จังจัดทำหลักสูตรอบรม “การสำรวจและวางผังงานก่อสร้างด้วยกล้อง Total Station” ผู้สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และเก็บหน่วยกับเราได้ ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โทร 043-754410
สมัครอบรม : https://umsu-reg.msu.ac.th/register/personalTrain.php?train=3
ที่มาภาพ:
1. บริษัท พี นัมเบอร์วัน อินสตรูเม้นท์ จำกัด : https://www.p1instrument.co.th/content/9326
2. บริษัท LG TOOLS จำกัด : https://www.lgtool.com/
3. TCG Plus : https://www.tcg-plus.com/product/nikon-forestry-pro/
รูปภาพประกอบ www.canva.com
เรียบเรียงโดย สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 13/01/2025 โดย นายธนกฤต ลาวัลย์