ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคืออะไร ?

หลายคนอาจจะสงสัย หรือผู้ที่เข้าปฏิบัติงานใหม่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงความหมายและวัตถุประสงค์ที่แท้จริง

#สปสช #กองทุนสุขภาพ #สุขภาพดี #ความรู้

วันนี้สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงนำสาระความรู้ดี ๆ มาฝากทุกท่านค่ะ

ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือ ระบบที่ประกันให้ประชาชนและชุมชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นได้อย่างมั่นใจ โดยไม่มีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายจากการใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น การดูแลสุขภาพ บริการวัคซีน สิทธิการคลอดบุตร บริการทางทันตกรรม ค่ายาและเวชภัณฑ์ บริการแพทย์แผนไทย รวมบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ หรือบริการ 30 บาท รักษาทุกโรคที่หลาย ๆ คนเคยได้ยิน เป็นต้น ซึ่งการคุ้มครองดังกล่าวก็มีข้อจำกัดตามระเบียบ

โดยระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินี้มี #วัตถุประสงค์ ขึ้นเพื่อ

ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสุขภาพ

บริการต้องมีคุณภาพที่จะทำให้สุขภาพผู้รับบริการดีขึ้น

ได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่ายหรือความเสี่ยงทางการเงินเมื่อเจ็บป่วย

ซึ่ง #บทบาท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ด้านการดำเนินงานและการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพมีดังนี้

จัดทำและบริหารแผนการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สนับสนุนหรือประสานให้หน่วยบริการจัดการหรือกิจกรรมให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถุึง

สนับสนุนค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม

ทำนิติกรรมและบริหารสัญญาหรือข้อตกลง

จัดทำบัญชีและรายงานทางการเงิน

ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

งานเลขานุการคณะกรรมการกองทันและพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

จากวัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการดำเนินงานและการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ จะเห็นได้ว่ามีความสำคัญอย่างมาก ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นครอบคลุมประชาชนทุกคน

ดังนั้นผู้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวควรมีความรู้ ความเข้าใจถึงบทบาทระเบียบต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ซึ่งอาจต้องศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม หรืออบรมพัฒนาศักยภาพในการทำงาน
โดยสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องดังกล่าวและจัดทำโครงการฝึกอบรม
หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2561 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบันพร้อม แนวทางการดำเนินการตามหนังสือสั่งการในการปฏิบัติหรือบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และการบริหารจัดการของอนุกรรมการ (LTC) การดำเนินงานอาสาสมัครบริบาล และการจัดทำแผนการเงิน การจัดทำแผนสุขภาพ กปท. 1-10”
ครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายประเด็นที่ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องรู้ ดังนี้
– แนวทางการดำเนินการตามหนังสือสั่งการในการปฏิบัติหรือบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ
– การบริหารจัดการของอนุกรรมการ LTC
– การดำเนินงานอาสาสมัครบริบาล
– การจัดทำแผนการเงิน
– การจัดทำแผนสุขภาพ กปท. 1-10

อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์อนันต์ พันธ์บ้านแหลม มาบรรยายให้ความรู้ และตอบทุกประเด็นปัญหาที่ทุกท่านสงสัย
เป็นอีก 1 โครงการดี ๆ ที่ห้ามพลาด สมัครอบรม https://uniquest.msu.ac.th/

สื่อประชาสัมพันธ์จัดทำโดยสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
#อบรมมมส #สำนักบริการวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม #อบรมท้องถิ่น #อบรม #training

สอบถามเพิ่มเติม/สนใจสมัคร

095-1979851 (ฝ่ายฝึกอบรม)

ID Line: @umsu หรือคลิก https://lin.ee/Bks62Dw

Website: https://uniquest.msu.ac.th/

#อบรมอย่างปลอดภัยห่างไกลโควิด #อบรมกับมมส

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 12/08/2024 โดย นายธนกฤต ลาวัลย์