ปก_สำนักบริการวิชาการ_2567

การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ในปัจจุบันระบบการศึกษาของประเทศไทยมีการพัฒนามากขึ้น รัฐบาลสนับสนุนการขยายโอกาสเพื่อให้เด็กไทยได้เข้าถึงการศึกษาในทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตามการขยายโอกาสทางการศึกษา สถาบันการศึกษาต้องมีการพัฒนาด้านคุณภาพควบคู่กันไปเพื่อให้ระบบการศึกษาไทยได้มีมาตรฐานเท่าเทียมกันทุกพื้นที่ จึงมีการกำหนดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น

การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมว่าการดำเนินงานของสถานศึกษามีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนมีระบบการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน

ระบบประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย

  • การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  • การติดตามตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพการศึกษา
  • การประเมินคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษาจึงหมายถึง การบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางสถานศึกษาโดยตรง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ ประชาชนในชุมชน สังคม สถานประกอบการ

ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา

  1. เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ สร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม
  2. ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ สร้างความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
  3. ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานทำให้เกิดการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

 

ระบบและกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาประกอบด้วย 2 ระบบคือ 1. ระบบประกันคุณภาพภายใน 2. ระบบประกันคุณภาพภายนอก

  1. ระบบประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance : IQA)

หลังจากสถานศึกษามีการดำเนินการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาภายในสถานศึกษาและนำผลการประเมินคุณภาพภายในมาเป็นฐานในการวางแผนพัฒนาเป้าหมาย และปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ โดยคำนึงถึงหลักการและกระบวนการสำคัญดังต่อไปนี้

  1. หลักการมีส่วนร่วมโดยทุกคนในสถานศึกษาร่วมแรงร่วมใจปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
  2. หลักการร่วมรับผิดชอบในผลการจัดการศึกษาอย่างตรวจสอบได้ สามารถอธิบายคุณภาพต่อสาธารณชนได้
  3. หลักการประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของทุกคนในสถานศึกษา เช่น ผู้บริหาร ครู อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุนในสถานศึกษานั้นต้องรับผิดชอบและดำเนินการทุกขั้นตอนของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาร่วมกัน โดยอาศัยกระบวนการพัฒนาคุณภาพด้วยวงจรแบบ PDCA

PDCA ประกอบด้วย

  1. กระบวนการวางแผนกำหนดเป้าหมาย (Plan)
  2. ดำเนินตามแผนควบคู่ไปกับการติดตามตรวจสอบ และประเมินคุณภาพระหว่างดำเนินงาน (Do & Check)
  3. กระบวนการนำผลการประเมินมาเป็นมาตรฐานการพัฒนาหรือยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นต่อไป (Act)

กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน (IQA)

  1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ มาตรฐาน เป้าหมายความสำเร็จ
  2. การพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานที่วางไว้ เป็นแผนที่กำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาตามระยะเวลาที่กำหนด จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร

บทบาทหน้าที่ของครูในการประกันคุณภาพภายใน

  1. เตรียมความพร้อมของตนเอง ทำความเข้าใจหลักการ วิธี ขั้นตอนการประเมินผลภายใน และสร้างเจตคติที่ดีต่อการประเมินภายใน
  2. ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการการประเมินผลภายใน
  3. ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในกิจกรรมใด ๆ ของการประเมินผลภายใน เช่น ร่วมพิจารณาการสร้างเครื่องจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ร่วมจัดทำการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูล สรุปประเมินผล เป็นต้น
  4. มีส่วนร่วมกับสถานศึกษาในการกำหนดจุดประสงค์ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ในการประเมินด้านต่าง ๆ กำหนดเกณฑ์ตัดสินมาตรฐานและตัวบ่งชี้
  5. ปฏิบัติหน้าที่ประจำอย่างมีระบบตามกระบวนการให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา เช่น ในหน้าที่ของการสอนต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและทำแผนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เตรียมเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ทำสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ จัดกิจกรรม วิธีการเรียนที่กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการค้นคว้าด้วยตนเอง เลือกวิธีการประเมินผลการเรียนที่หลากหลาย ประเมินผลการสอน พฤติกรรมผู้เรียน นำผลการประเมินมาปรับปรุงอย่างต่อเนือง

 

  1. ระบบการประกันคุณภาพภายนอก

คือการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาโดยเป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทำหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบ และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งและสร้างความเชื่อมั่นต่อสังคม

นโยบายการประเมินคุณภาพภายนอกรอบใหม่

หลักการและรูปแบบการประเมินคุณภาพรอบใหม่ ประกอบด้วยการประเมินโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ (Expert judgment) การประเมินแบบองค์รวม (Holistic Assessment) และการประเมินเชิงประจักษ์ (Evidence based assessment)

โดยการประเมินรอบใหม่เป็นการประเมินเชิงพัฒนาที่มีผู้เชี่ยวชาญไปให้คำแนะนำช่วยเหลือ ไม่ใช่การประเมินเพื่อตัดสินว่าใครได้ระดับใด ผ่านหรือไม่ เป็นการประเมินที่ไม่มีการรับรองคุณภาพของสถานศึกษา

องค์ประกอบของผู้ประเมินประกอบด้วย ตัวแทน 3 ส่วน คือ

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
  2. ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต้นสังกัด
  3. ผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นอิสระจากการตรวจ โดยการประเมินรอบใหม่จะให้ความสำคัญกับมาตรฐานผู้ประเมินที่เน้นทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ

 

ประโยชน์จากการประกันคุณภาพการศึกษา

  1. สร้างความเชื่อมั่นด้านมาตรฐานการศึกษาให้กับผู้ใช้บริการสถานศึกษาและผู้ปกครอง
  2. สร้างความเป็นมืออาชีพ การทำงานอย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส เน้นคุณภาพ ตรวจสอบได้ ให้กับครูได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
  3. ผู้บริหารได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมีระบบ โปร่งใจ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
  4. สร้างมาตรฐานให้กรรมการสถานศึกษาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม มีส่วนพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาแก่ผู้เรียนร่วมกับผู้บริหาร และครูผู้สอน
  5. ได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาเยาวชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชน และประเทศต่อไป

สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาความรู้บุคลากรทางด้านการศึกษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) ด้วยระบบประกันคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม เพื่อการพัฒนาทักษะดิจิทัล (Digital Literacy) สู่การประกันคุณภาพการศึกษา และการประเมินผลการทำข้อตกลงพัฒนางาน PA (Performance Agreement)”

ท่านผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
• Line id : @umsu (ใส่ @ นำหน้าด้วยนะค่ะ)
• ดาวน์โหลดเอกสาร เว็ปไซด์ http://uniquest.msu.ac.th
• โทรศัพท์ 09-5197-9851, 09-5618-7887, 06-2545-6746, 08-7216-4889, 09-4538-4858

Last Updated on 12-08-2024 by Tanakrit Lawan